(ดูรายละเอียดเบื้องต้นเรื่องการจดทะเบียนสมรส)

กรณีที่เคยจดทะเบียนสมรสมาก่อน (สถานภาพหย่าร้าง)

  1. หนังสือเดินทาง หรือ บัตรประจำตัวประชาชน (กรณีประสงค์ที่จะจดทะเบียนสมรสในประเทศไทยและไม่มีหนังสือเดินทาง จะต้องแปลบัตรประจำตัวประชาชนด้วย) ทั้งนี้ ควรติดต่อสอบถามที่สำนักทะเบียนเยอรมันว่า กรณีไม่มีหนังสือเดินทาง ใช้บัตรประจำตัวประชาชนพร้อมคำแปลภาษาเยอรมันได้หรือไม่
  2. สูติบัตร หรือ หนังสือรับรองการเกิด (กรณีที่สูติบัตรสูญหายหรือชำรุด) ซึ่งต้องมีข้อมูลถูกต้องครบถ้วน ตามสูติบัตร (ควรระบุ วันเดือนปีเกิด สถานที่เกิด ชื่อบิดา-มารดา รวมทั้งชื่อสกุลเดิมก่อนสมรสของมารดา)
  3. สำเนาทะเบียนบ้าน หรือ แบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร (ทร.14/1) ซึ่งต้องมีอายุไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ออกให้ กรณีที่ใช้แบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร (ทร.14/1) ทางสถานทูตเยอรมันแนะนำ ให้ขอคัด ณ สำนักทะเบียนเขต/อำเภอที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน หรือ สำนักทะเบียนกลาง เท่านั้น
  4. ใบคำร้องเกี่ยวกับงานทะเบียนครอบครัว ออกให้โดยสำนักทะเบียนกลาง (ขอได้แห่งเดียวที่ สำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง ตึก 3 ถ.นครสวรรค์ แขวงดุสิต (ใกล้สนามม้านางเลิ้ง) เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10210 โทร. 02-3569658 – โปรดระวังบุคคลแอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเรา) ซึ่งต้องมีอายุไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ออกให้ * คู่สมรสฝ่ายสัญชาติไทยสามารถมอบอำนาจให้ทางสำนักงานของเราไปขอคำร้องนี้แทนได้
  5. ใบรับรองสถานภาพการสมรส ซึ่งระบุว่า หลังจากจดทะเบียนหย่ามิได้จดทะเบียนสมรสกับบุคคลใดอีก ทั้งนี้ ควรระบุชื่อคู่สมรสเดิม เลขที่ทะเบียนการหย่า วันที่จดทะเบียนหย่า และสำนักทะเบียนเขต/อำเภอที่จดทะเบียนหย่า โดยสามารถขอได้ที่สำนักทะเบียนเขต/อำเภอที่ท่านมีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน ซึ่งต้องมีอายุไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ออกให้
  6. กรณีคู่สมรสฝ่ายสัญชาติไทย หรือ คู่สมรสเดิม หรือ บิดา-มารดา เปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุล ต้องใช้ใบ เปลี่ยนชื่อตัว (ช.3) และใบเปลี่ยนชื่อสกุล (ช.1, ช.4 หรือ ช.5)
  7. ทะเบียนการสมรสพร้อมบันทึก (คร. 2) ทางสถานทูตเยอรมันแนะนำให้ไปขอคัดที่สำนักทะเบียนเขต/อำเภอ ที่เคยจดทะเบียนสมรส หรือ สำนักทะเบียนกลาง เท่านั้น
  8. ใบสำคัญการหย่า (คร. 7)
  9. ทะเบียนการหย่าพร้อมบันทึก (คร. 6) ทางสถานทูตเยอรมันแนะนำให้ไปขอคัดที่สำนักทะเบียนเขต/อำเภอ ที่เคยจดทะเบียนหย่า หรือ สำนักทะเบียนกลาง เท่านั้น
  10. กรณีที่หย่าโดยศาล ต้องใช้คำพิพากษาเรื่องการหย่าและหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด (ขอคัดสำเนาพร้อมประทับตรารับรองสำเนาถูกต้องได้ที่ศาลประจำจังหวัด แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว)
  11. กรณีหย่ายังไม่ถึง 310 วันนับแต่วันที่จดทะเบียนหย่า ต้องใช้ใบรับรองแพทย์ที่ระบุว่าไม่มีการตั้งครรภ์
  12. ประกาศนียบัตรภาษาเยอรมันขั้นพื้นฐาน เอ 1 “สตาร์ท ดอยตช์ 1” (ต้องมีอายุไม่เกิน 1 ปี) เฉพาะกรณีที่มี ความประสงค์ที่จะพำนักอาศัยระยะยาวที่ประเทศเยอรมนีเท่านั้น อาจมีข้อยกเว้นบางกรณี ซึ่งควรติดต่อสอบถามที่สถานทูตเยอรมัน
  13. กรอกแบบฟอร์มมอบอำนาจให้คู่สมรสฝ่ายสัญชาติเยอรมันยื่นขอจดทะเบียนสมรส ณ ประเทศเยอรมนี (ชื่อเป็นภาษาเยอรมันว่า Beitrittserklärung อ่านออกเสียงว่า ไบ-ทริทท์ส-แอร์-แคล-รุง)
  14. กรอกแบบฟอร์มเพื่อให้ศาลในประเทศเยอรมนีรับรองความถูกต้องของการหย่ากับสามีคนเดิมที่ประเทศ ไทย (กรณีที่เคยจดทะเบียนสมรส และจดทะเบียนหย่าที่สำนักทะเบียน/อำเภอที่ประเทศไทย) (ชื่อเป็นภาษาเยอรมันว่า Antrag auf Anerkennung einer ausländischen Entscheidung in Ehesachen)

* หมายเหตุ 1. กรณีเคยจดทะเบียนสมรสและจดทะเบียนหย่ามาแล้วหลายครั้ง ต้องใช้ทะเบียนการสมรส (คร.2) และทะเบียนการหย่า (คร.6) ทุกครั้ง แม้ว่าจะเป็นคู่สมรสจะเป็นคนเดิมก็ตาม และในกรณีที่ฝ่ายหญิงยังใช้ชื่อสกุลของสามีที่หย่าร้างแล้ว ต้องขอเปลี่ยน กลับไปใช้ชื่อสกุลของตนเอง ณ สำนักทะเบียนเขต/อำเภอที่มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน แล้วจึงจดทะเบียนสมรสใหม่ได้ 2. นอกจากเอกสารดังกล่าว ทางสำนักทะเบียนเยอรมันอาจเรียกเอกสารเพิ่มเติม คู่สมรสฝ่ายสัญชาติเยอรมันจึงควรติดต่อสอบถามเรื่องเอกสาร ที่สำนักทะเบียนเยอรมัน ณ เมืองที่พำนักอยู่

หากมีข้อสงสัยประการใด หรือต้องการดูตัวอย่างของเอกสารดังกล่าว กรุณาติดต่อสำนักงานของเรา (ติดต่อเรา)

« เอกสารที่ต้องใช้ในกรณีที่มีสถานภาพโสดเอกสารที่ต้องใช้ในกรณีที่มีสถานภาพหม้าย »